ด้วยคุณสมบัติของเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic) หนึ่งในทางเลือกพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมด มีอยู่โดยทั่วไปบนโลกจากทั่วทุกพื้นที่ นั่นจึงเป็นตัวชี้วัดว่าทำไมในปัจจุบันจึงได้มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจาก Solar Cell กันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีการบริโภคพลังงานงานแสงอาทิตย์มากกว่าเพื่อนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยความที่เอื้อต่อการผลิตไฟฟ้าเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมีภูมิอากาศอบอุ่น ซึ่งเข้ากันได้ดีกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากแสงแดดให้กลายมาเป็นกระแสไฟฟ้า นำไปสู่การเป็นตลาดการซื้อขายไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่นำส่วนต่างที่เหลือจากการใช้ในครัวเรือน ผ่านตัวกลางการไฟฟ้าในการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์บนหลังคา (Solar PV Rooftop) ตามบ้านเรือน พร้อมกับแยกหมวดหมู่ตามลักษณะของอาคาร บ้าน และขนาดของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งในแต่ละประเภทของโซลาร์เซลล์พลังงาน
โดยส่วนใหญ่แล้ว การผลิตกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน จะอยู่ในรูปแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แต่การติดตั้งโซล่าเซลล์จะไม่เหมือนการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป เหตุจากระบบกระแสไฟฟ้าที่แตกต่าง ด้วยความที่ระบบไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไปตามบ้านเรือน คือ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ มีแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ และ 380 โวลต์ ส่วนกระแสไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์นั้น จะเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรงอันเนื่องจากมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแสงแดดที่มีพลังความร้อนแผดเผา ทำให้มีแรงดันไฟค่อนข้างสูงอยู่ที่ประมาณ 500 ถึง 1000 โวลต์
หากว่าจะมองให้ลึกลงไปในรายละเอียดขั้นตอนของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ กับชุดอุปกรณ์โซล่าเซลล์แล้วละก็ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์เฉพาะที่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย เข้ากันได้ดีกับตัวแผงโซล่าเซลล์กับอุปกรณ์โซล่าเซลล์แต่ละระบบ อย่างแรกที่ลืมไม่ได้คืออุปกรณ์โซล่าเซลล์ ขั้นต่ำ 500-800 โวลต์ ส่วนงานติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา Solar Rooftop จะต้องดำเนินการโดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เท่านั้น โดยให้ตัวยึดแบบพิเศษเฉพาะของแผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิด ส่วนขนาดของโซล่าเซลล์จะขึ้นกับแรงดันไฟฟ้าที่จะได้รับ และรวมไปถึงจำนวนติดตั้งให้คำนวณจากการใช้ไฟฟ้าปกติในชีวิตประจำวัน บวกกับจำนวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดต่อเวลาการใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น
เมื่อลองจำแนกระบบไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์จะได้ออกมา 3 แบบ คือ
1.) ระบบ On grid หรือระบบแผงโซล่าเซลล์ทั่วไปที่นิยมใช้ในการต่อแผง รองรับการใช้ไฟในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ดี ใช้ได้ทั้งโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองแต่เพียงผู้เดียว และระบบที่มีเชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้าเพื่อขายต่อ เป็นระบบที่เข้าใจง่ายแต่จะยังคงใช้งานระบบไฟฟ้าทั่วไปอยู่ในกรณีที่เกิดเหตุจำเป็น ไฟฟ้าดับ ไม่คาดคิด ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ได้ ใช้อุปกรณ์ในชุดโซล่าเซลล์ไม่เยอะ มีค่าดูแลและปรับปรุงระบบ ค่าซ่อมบำรุงต่ำ
1.) ระบบ On grid หรือระบบแผงโซล่าเซลล์ทั่วไปที่นิยมใช้ในการต่อแผง รองรับการใช้ไฟในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ดี ใช้ได้ทั้งโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองแต่เพียงผู้เดียว และระบบที่มีเชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้าเพื่อขายต่อ เป็นระบบที่เข้าใจง่ายแต่จะยังคงใช้งานระบบไฟฟ้าทั่วไปอยู่ในกรณีที่เกิดเหตุจำเป็น ไฟฟ้าดับ ไม่คาดคิด ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ได้ ใช้อุปกรณ์ในชุดโซล่าเซลล์ไม่เยอะ มีค่าดูแลและปรับปรุงระบบ ค่าซ่อมบำรุงต่ำ
2.) ระบบ Off grid ระบบโซล่าเซลล์แบบพึ่งพาตัวเอง ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในบ้านโดยไม่เชื่อมต่อการไฟฟ้า แต่จะมีแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ไว้ใช้เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้า โดยที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานผ่านแบตเตอรี่ จึงต้องคำนึงถึงการเลือกซื้อขนาดความจุแบตเตอรี่หนึ่งในอุปกรณ์ชุดโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่จะได้ชาร์จไฟเพียงพอกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า จากที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแม้แต่สักบาทเพราะอาจอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้ายังไปไม่ถึง ในกรณีที่ในช่วงนั้นไม่มีแสงแดด มีฝนตกติดต่อกันหลาย ๆ วัน ก็เสี่ยงต่อกระแสไฟฟ้าที่ต่อใช้จากแบตเตอรี่ไม่เพียงพอได้
3.) ระบบ Hybrid เชื่อมระบบทั้งแบบ On grid และ Off grid เข้าไว้ในตัวเองเพราะมีการเชื่อมต่อสายส่งกระแสไฟฟ้า ทำให้ไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่โซล่าเซลล์เพื่อสะสมพลังงานไว้มากนัก แต่จ่ายค่าไฟตามปกติในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรือกรณีฉุกเฉิน สามารถดึงไฟฟ้าออกมาใช้ได้ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ และจากไฟฟ้าส่วนกลาง ทว่ากลับจะต้องมีอุปกรณ์โซล่าเซลล์มากกว่าปกติ เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนของระบบ มีค่าใช้จ่ายและค่าซ่อมบำรุงสูงกว่า
โซล่าเซลล์ทุกรูปแบบล้วนทำมาจากผลึกซิลิคอน Crystalline Silicon (C-Si) มากถึง 90% โดยเฉพาะแผงโซล่าเซลล์ที่จำหน่ายทั่วไป และถูกติดตั้งบนหลังคา Solar Roof Top ตามบ้าน อาคารต่าง ๆ อยู่ในรูปโซล่าเซลล์ซิลิคอน Silicon แผ่นซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง วัดได้จากคุณสมบัติองค์ประกอบทางเคมีที่มีการเรียงตัวสวยและเป็นระเบียบ จึงสามารถรับแสงแดดมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะซิลิคอนจะต้องนำไปผ่านกระบวนการที่สลับซับซ้อนก่อนตัวซิลิคอนจะมีความบริสุทธิ์ 100% ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ Solar Panel หรือ โซล่าเซลล์ Photovoltaics หลายเซลล์มาต่อกันให้เป็นวงจรรวมอยู่ในแผงโซล่าเซลล์เดียวกัน เพื่อที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการใช้งาน
ชนิดต่าง ๆ ของแผงโซล่าเซลล์
-
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
ทำจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือ Single Crystalline (single-Si)
- แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
ทำจากผลึกซิลิคอน หรือ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline, P-Si) และ มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si)
- แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells, TFSC)
ทำจากสารที่ใช้แปลงพลังงานจากแสงแดดให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้า นำมาฉาบเป็นฟิล์มบาง ๆ หลาย ๆ ชั้นซ้อนกัน ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si),Cadmium telluride (CdTe),Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic photovoltaic cells (OPC)
ขั้นตอนในการดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์
1 รักษาความสะอาดบนแผงโซล่าเซลล์
ควรระวังคราบ สิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อาจติดค้างจากการติดตั้งโซล่าบนหลังคามาเป็นเวลานาน
2 ติดตั้งโซล่าเซลล์ในทิศทางที่ไม่มีสัตว์มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ไม่ควรนำแผงโซล่าเซลล์ไปติดตั้งในสถานที่ที่มีสัตว์มาชุมนุมกันชุกชุม เพราะอาจจะเข้าไปกัดแผงโซล่าเซลล์จนชำรุด เสียหายได้
3 ตรวจเช็คการทำงานของแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ
ตำแหน่งที่จะต้องคอยดูอยู่เสมอก็คือบริเวณตัวยึดติดแผงกับฐานรองโซล่าเซลล์ รวมทั้งคอยตรวจดูไม่ให้เกิดรอยแตก หรือฉีกขาดได้
4 ทำความสะอาดบริเวณหน้าแผงโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ
คอยดูแลไม่ให้เกิดรอยฝุ่น หรือมีไอละออง คราบน้ำมัน และอื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น