โซล่าเซลล์ที่ใช่ชนิดไหนที่ลงตัวที่สุดในบ้านรักษ์โลกที่คุณเป็นเจ้าของ

โซล่าเซลล์ที่ใช่ชนิดไหนที่ลงตัวที่สุดในบ้านรักษ์โลกที่คุณเป็นเจ้าของ

พลังงานธรรมชาติที่จะกลายมาเป็นพลังงานทดแทน เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นพลังงานที่มาจากแสงอาทิตย์ ที่รู้จักกันดีในชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น พลังงานโซล่าเซลล์ เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์สุริยะ เซลล์ Photovoltaic หมายถึง กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ซึ่งคำว่า photovoltaic  แยกได้ 2 คำ นั่นคือ Photo หมายถึง แสง Volt หมายถึง แรงดันไฟฟ้า

เชื่อว่าจุดกำเนิดเล็ก ๆ ของพลังจากรังสีอาทิตย์ หรือแสงแดดนั้นเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ทุ่มเทวิจัยในห้องทดลองห้องหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่อย่างพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด ผ่านตัวกลางโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการตัดสินใจสร้างบ้านของคนสมัยใหม่ จนพลังงานแสงอาทิตย์ได้ขยายกรอบทางเลือกพลังงานทดแทนได้อย่างตรงจุด ซึ่งเมื่อโซล่าเซลล์ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงก็จะเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า และแยกตัวเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบจนเกิดแรงดันไฟฟ้าในขั้วทั้งสอง เมื่อนำขั้วไฟฟ้าต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์เหล่านั้นทำให้สามารถทำงานได้

โซล่าเซลล์

                แผงโซล่าเซลล์แต่ละแบบที่นำมาใช้ในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีจำนวน 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. แผงโซล่าเซลล์แบบคริสตัลไลน์ (Crystalline Solar Cells) เป็นโซล่าเซลล์ที่สร้างจากผลึกสารกึ่งตัวนำ ตัวอย่างคือ ซิลิกอน (Si) ซึ่งจะให้กำลังไฟต่อพื้นที่สูงกว่าแบบฟิล์มบาง แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำงานได้ไม่ค่อยดี พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปีจึงน้อยกว่าแบบฟิล์มบาง แบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

                - โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline) หรือซิงเกิ้ลคริสตัลไลน์ (Single Crystalline) จะมีลักษณะเป็นผลึกเดี่ยวที่นำซิลิกอนไปหลอมละลายในอุณหภูมิสูง 1500 องศา ได้ออกมาเป็นผลึกขนาดใหญ่ ก่อนนำไปตัดเป็นแผ่นเวเฟอร์ แบบผลึกเดี่ยวราคาจะแพงกว่าแบบโพลีคริสตัลไลน์
                                                                                                                                                       
                - แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline) หรือมัลติคริสตัลไลน์ (Muliti Crystalline) หรือแบบผลึกรวม ซึ่งต้นทุนจะน้อยกว่าแบบผลึกเดี่ยว โดยนา ซิลิกอนมาหลอมแล้วปล่อยให้เย็นตัวช้า ๆ ก่อนเป็นแผ่นเวเฟอร์ โซล่าเซลล์แบบผลึกผสมมีกำลังไฟฟ้าที่ต่ำกว่าแบบโมโนคริสตัลน้อย ประกอบไปด้วยผลึกเล็ก ๆ (Grain) เป็นจำนวนมาก
                                                                                                                                                                                                                                                                                    
2. แผงโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง (Thin Film) มีความไวต่อแสงมากกว่า สามารถรับแสงที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้ดี รับแสงในพื้นที่ที่มีเมฆหมอก ฝุ่นละออง ท้องฟ้าคลึ้ม มีฝนตกชุก หรือแสงจากหลอดไฟฟ้าเองก็ได้ ทำงานได้ดีในอุณหภูมิสูง เป็นชนิดที่ได้สามารถทำงานภายใต้อุณหภูมิสูงได้ดี นิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา เป็นต้น แต่ข้อเสียเสียคือให้กำลังไฟฟ้าไม่สูงมากนัก ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากเป็นพิเศษ
 
                สำหรับใครที่ต้องการอยากสร้างบ้านโซล่าเซลล์สามารถติดต่อช่างติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อมาคุยสอบถามและปรึกษาได้ โดยศึกษาข้อมูลพลังงานโซล่าเซลล์พร้อมกับจุดประสงค์ และความต้องการของตัวเองต่อการเลือกใช้งานพลังงานทางเลือกตามความเหมาะสมของพื้นที่ และตัวแผงโซล่าเซลล์หรือพลังงานธรรมชาติที่ผลิตขึ้นได้ในที่พักอาศัยเหล่านี้ จะสามารถช่วยให้คุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งยังจะช่วยโลกของเราด้วยการลดใช้พลังงานหลัก แปรเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวคุณและสิ่งแวดล้อม ผ่านตัวกลางในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด สู่การเป็นโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนเพื่อโลกของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น