โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้ากลางคืนได้ Anti-Solar cells Energy
เมื่อพลังงานทดแทนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวงการพลังงานหลัก อันได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนในชาติใช้งาน แต่เมื่อพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตัวเอง การเลือกผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้กลายมาเป็นแนวคิดใหม่ในการสร้างบ้านยุคปัจจุบันที่มีพื้นที่รองรับโซล่าเซลล์ได้ ก็สามารถที่จะผลิตไฟฟ้าใช้เอง รวมทั้งประกอบเป็นกิจการพลังงานได้เช่นกัน
พลังงานที่จะมาแทนที่พลังงานธรรมชาติอันมีค่าที่เมื่อใช้แล้วก็จะหมดไปที่หลายคนรู้จักกันดี ก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในตอนกลางวัน และสามารถแยกย่อยออกเป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบไม่พึ่งพาไฟฟ้า กับการใช้ไฟฟ้าโดยดึงเอาจุดเด่นของแสงแดดมาใช้ จากการใช้ไฟพลังงานโซล่าเซลล์ตอนกลางวันที่ถ้าติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก็สามารถใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ แต่เมื่อยามที่ปราศจากแสงแดดก็ให้กลับมาใช้ไฟฟ้าตามเดิม หรือในยามที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ไฟดับ ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น นอกจากนั้นในชุดอุปกรณ์โซล่าเซลล์ยังประกอบไปด้วยเครื่องแปลงไฟ อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ ชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์ ฯลฯ ที่ทำงานเริ่มแรกในการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เข้ากันกับอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมไปถึงกักเก็บกระแสไฟฟ้าในรูปแบบเตอรี่ ที่สามารถนำมาใช้แทนไฟฟ้าในยามฉุกเฉินได้
เพราะเราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยแสงแดดในตอนกลางวัน มันจึงได้เกิดเป็นความสงสัยในภายหลังว่า ถ้าหาก Solar Energy ที่สร้างจากแสงแดดที่ผลิตขึ้นใช้งานได้ในทุกเวลามันคงจะดีไม่น้อยเลย แล้วก็พบว่ามีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่เห็นตรงกัน จึงร่วมมือกันในการคิดค้นแผงโซล่าเซลล์ตอนกลางคืน เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าได้โดยดึงมาจากพลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์ที่โลกกักเก็บไว้ ภายใต้ชื่อโซลาร์พลังงานแนวใหม่ Anti-Solar Cells โดยนักวิจัยแห่งห้องปฏิบัติการแห่งชาติ รัฐไอดาโฮ ซึ่งพวกเขาได้คิดค้นแผงโซล่าเซลล์แนวใหม่ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้พระอาทิตย์จะตกดินไปแล้วก็ตาม สำหรับ Anti-Solar Cells โซลาร์พลังงานตอนกลางคืนนี้จะมีลักษณะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก เพียงแค่จะมีวัสดุพิเศษเพิ่มเข้ามาเพื่อเก็บพลังงานรังสีอินฟราเรดที่จะมีมาปรากฏขึ้นในตอนกลางคืน เพียงแต่มีคุณสมบัติเดียวกันกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้าขนาดบางเฉียบที่มีไว้สำหรับประกอบเข้าด้วยกันกับแผงโซล่าเซลล์แบบเก่า แต่ทว่า Anti-Solar Cells นั้นจะทำมาจากวัสดุชนิดหนึ่ง ชื่อว่า Nanoantennas
จากความร้อนบนผิวเปลือกโลกจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกกับเก็บไว้ตั้งแต่กลางวัน ซึ่งทำให้สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ผ่านการนำแผงโซล่าเซลล์ชนิดพิเศษไว้ใช้เก็บพลังงานอินฟราเรดใต้ผิวเปลือกโลก ‘ดาวโลก’ อย่างที่ทราบกันดีว่า ‘โลกหมุนรอบตัวเอง’ และโคจรผ่านดาวดวงมากมาย รวมทั้งดวงอาทิตย์เมื่อโคจรมาบรรจบกับโลกก็ได้ทำการสาดส่องแสงแดดที่ร้อนแรงจนทำให้เกิดความร้อนที่สะสมมาตลอดทั้งวัน โลกจึงคลายความร้อนเหล่านี้ออกมาเป็นรังสีอินฟราเรด เหนือไปกว่านั้นยังมีแผงโซล่าเซลล์ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเพื่อดูดซับพลังงานความร้อนตอนกลางคืนโดยเฉพาะ นั่นก็คือ โซล่าเซลล์พลังงานรังสีอินฟราเรดที่ผลิตกระแสไฟฟ้าตอนกลางคืนได้ไม่แพ้โซลาร์พลังงานแสงอาทิตย์ (เลยก็ว่าได้) ซึ่งคาดการณ์ว่า Anti-Solar Cells จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตแผงโซล่าเซลล์ในอีก 5 ปีข้าง
ข้อดีของพลังงานรังสีอินฟราเรดนั้น ไม่ได้แตกต่างกันเลยกับโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เราสามารถเก็บแสงแดดมาผลิตไฟฟ้าด้วยชุดอุปกรณ์โซล่าเซลล์ประกอบในช่วงเวลาที่ดีที่สุด ประมาณ 5 ชม.เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาก็ได้รับการตอบรับอย่างดี มีผู้ที่ซื้อบ้านนิยมใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ในภาคครัวเรือนกันมากขึ้น ทางการไฟฟ้าเองก็ตอบรับเรื่องนี้ด้วยการซื้อคืนพลังงานโดยต่อเชื่อมสายส่งกับบ้านที่มีโซลาร์บนหลังคา Solar Roof Top โดยให้อัตราค่าไฟคืนที่ 1.68/หน่วยไฟฟ้า ถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าส่วนกลางสั่นคลอน ยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบต่อมาของการใช้ไฟฟ้าจากโรงงานของทางภาครัฐที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงหลัง ๆ มาคือสถิติการใช้ไฟฟ้าที่แปลกประหลาดในรูปสถิติกราฟ Duck Curve หรือปรากฏการณ์การใช้ไฟฟ้าลดลงในเวลากลางวัน อันเนื่องมาจากอาคาร บ้านเรือนหลายหลังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์
จากปรากฏการณ์ Duck Curve ที่ทำให้กราฟสถิติการใช้ไฟฟ้ามีรูปร่างเหมือนหลังเป็ด เพราะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟจากการไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ก่อนจะกลับมาเป็นปกติในตอนกลางคืน เป็นไปได้ว่านี่อาจเป็นสาเหตุให้การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผ่านโซล่ารูฟท็อปบนหลังคาในหลายประเทศจึงไม่ให้ภาคครัวเรือนผลิตพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ได้อย่างอิสระ
สำหรับพลังงานที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ในช่วงกลางคืนนั้นยังถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เพราะยังไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็แล้วก็เป็นทางเลือกใหม่ที่หลายๆ คนจับตามอง เรื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าต้นทุนในการผลิตแผงโซล่าเซลล์นั้นมันต่ำลงมากทีเดียว และเดี๋ยวอีกหน่อยการติดตั้งโซล่าเซลล์คงไม่ใช่สิ่งซึ่งจับต้องไม่ได้อีกต่อไปแล้ว จากเมื่อก่อนที่มักลงทุนเฉพาะกับสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เหมาะกับการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยไม่พึ่งพาไฟฟ้า ด้วยเพราะมีพื้นที่เพียงพอต่อการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มากกว่า และมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากกว่าเพื่อน
แต่ปัจจุบันภาคครัวเรือนเริ่มหันมาสนใจ แต่ที่น่าสนใจมากกว่าก็คงจะหนีไม่พ้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอด 24 ชม.นี้เองที่น่าจะกลายมาเป็นการใช้พลังงานกระแสหลักของสังคมในยุคสมัยอนาคตในอีกไม่นานข้างหน้านี้ก็ได้ หรืออาจจะในไม่ถึง 5 ปีนี้ที่บ้าน และอาคารที่เคยผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงตอนกลางวันจะหันมาทุ่มงบเพื่อที่จะดำเนินการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม. ซึ่งเรียกว่าไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเลยแม้แต่บาทเดียว...